จากกรณีเหตุแผ่นดินไหว ส่งผลให้อาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง เกิดพังถล่ม นำมาซึ่งการตรวจสอบอย่างเข้มข้น ทั้ง บริษัทผู้รับจ้าง มาตรการการก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง การออกแบบโครงสร้างอาคาร โดยเฉพาะเหล็ก ที่มีข้อถกเถียงในวงกว้างว่าอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดวิบัติในครั้งนี้ และมีผลทำให้เหล็กบางประเภทถูกสั่งระงับห้ามใช้ในกิจการก่อสร้าง
อย่างไรก็ตามได้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้เขี่ยวชาญได้ออกมาชี้แจงทำความเข้าใจ เกี่ยวกับเรื่องเหล็กเส้นที่ใช้สร้างตึก สตง. หลังเกิดเหตุถล่ม เมื่อไม่นานมานี้ ประกอบด้วย สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ สมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย
นายกฤษดา จันทร์จำรัสแสง อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวถึงผลกระทบต่องานก่อสร้างหลังมีความสับสนเรื่องการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้เหล็กตัว T สามารถใช้ในการก่อสร้างได้หรือไม่ว่า เนื่องจากปัจจุบันมีบางส่วนราชการมีหนังสือเวียนภายในแนะนำไม่ควรให้ใช้เหล็กที่มีตัว T ในการก่อสร้าง
ส่งผลให้ผู้ประกอบการก่อสร้างได้รับผลกระทบเนื่องจากมีการสต๊อกวัสดุไว้แล้ว เพราะจากการที่มีเหล็กในสตอกก็ไม่รู้ว่าจะนำไปขายให้กับใคร เกิดปัญหาสินค้าค้างสต๊อก อีกทั้งหากมีการแนะนำไม่ให้ใช้เหล็กข้ออ้อยตัว T ก็จะทำให้ราคาของเหล็ก Non T พุ่งสูงขึ้น ผลที่ตามมาคือทำให้เหล็กไม่เพียงพอ และขาดตลาด รวมทั้งการทำงานก็จะช้าลงเพราะไม่มีของในสตอก ส่วนเหล็กจากอาคาร สตง.ถล่มที่นำมาตรวจสอบ ยอมรับว่าไม่ผ่านมาตรฐาน แต่ทั่วไปร้อยละ 90 ได้มาตรฐาน
นายกฤษดา จันทร์จำรัสแสง อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวถึงผลกระทบต่องานก่อสร้างหลังมีความสับสนเรื่องการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้เหล็กตัว T สามารถใช้ในการก่อสร้างได้หรือไม่ว่า เนื่องจากปัจจุบันมีบางส่วนราชการมีหนังสือเวียนภายในแนะนำไม่ควรให้ใช้เหล็กที่มีตัว T ในการก่อสร้าง
ส่งผลให้ผู้ประกอบการก่อสร้างได้รับผลกระทบเนื่องจากมีการสต๊อกวัสดุไว้แล้ว เพราะจากการที่มีเหล็กในสตอกก็ไม่รู้ว่าจะนำไปขายให้กับใคร เกิดปัญหาสินค้าค้างสต๊อก อีกทั้งหากมีการแนะนำไม่ให้ใช้เหล็กข้ออ้อยตัว T ก็จะทำให้ราคาของเหล็ก Non T พุ่งสูงขึ้น ผลที่ตามมาคือทำให้เหล็กไม่เพียงพอ และขาดตลาด รวมทั้งการทำงานก็จะช้าลงเพราะไม่มีของในสตอก ส่วนเหล็กจากอาคาร สตง.ถล่มที่นำมาตรวจสอบ ยอมรับว่าไม่ผ่านมาตรฐาน แต่ทั่วไปร้อยละ 90 ได้มาตรฐาน
“เหล็กที่ส่งมาจากโรงงาน เมื่อมาถึงหน้างานแล้วจะมีการทดสอบมาตรฐานก่อนใช้งาน โดยถ้าส่งเหล็กมา 300 เส้น จะมีการสุ่มทดสอบ 3 เส้น 400 เส้นสุ่ม 4 เส้น ในการทดสอบจะมี 3 อย่าง คือทดสอบแรงเค้น สูงสุดแค่ไหน ทดสอบความยืด และทดสอบดัดโค้ง ว่าจะเกิดการแตกหรือไม่ ส่งไปตรวจสอบที่สถาบันเหล็ก มหาวิทยาลัยที่มีการสอนโยธา แขวงทางหลวง หรือกรมโยธาธิการที่มีเครื่องทดสอบ ใช้เวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ จะทราบผล ถ้าไม่ผ่านมาตราฐาน เหล็กทั้งกองจะไม่สามารถใช้ได้ แต่ที่ผ่านมาจากการตรวจสอบไม่พบเหล็กไม่ผ่านมาตรฐาน แต่เจอเหล็กน้ำหนักเบาปริมาณเยอะขึ้น ซึ่งก็ถือว่าไม่ผ่านมาตรฐานอยู่ดี”
เหล็กที่กำลังสูงจะมีความแข็งมากและจะมีแรงจัดโค้งได้น้อย อย่างเหล็ก SD50 และ SD50T ถ้าต้องมีการดัดโครงเหล็กวิศวกรจะทราบดีว่าควรใช้เหล็ก SD40 หรือ SD40T มากกว่า ในการทำเหล็กปลอก เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเหล็ก T หรือ Non T สามารถใช้งานได้เท่ากัน สามารถใช้ก่อสร้างอาคารสูงได้ และใช้ได้ทุกงานคอนกรีตเสริมเหล็กทุกประเภท
นอกจากนี้ รศ.ดร.สมิตร ยังให้ความเห็นส่วนตัวเพิ่มเติมว่า ในกรณีที่ตึก สตง.แห่งใหม่ถล่มนั้น เชื่อว่าเหล็กไม่ใช่สาเหตุหลัก แต่ก็ไม่ทราบว่าเป็นปัจจัยด้านไหน